___noise___ 1000

ทำความรู้จัก ‘NEWTLAC’ นวัตกรรมถนนรักษ์โลกจาก “คาโอ” เปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นถนนแห่งอนาคต

KAO-NEWTLAC

ในยุคที่โครงสร้างพื้นฐานเริ่มเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน และวงการก่อสร้างถนนถูกท้าทายด้วยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Kao ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและเคมีภัณฑ์จากประเทศญี่ปุ่น จึงได้คิดค้น “NEWTLAC” นวัตกรรมที่เป็นการผสมผสานระหว่าง พอลิเมอร์ชนิดพิเศษและนำมาผสมกับยางมะตอยเพื่อใช้ในการสร้างถนนอย่างเป็นรูปธรรม ที่ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ปัญหาขยะ แต่ยังสร้างถนนที่แข็งแรงทนทานยิ่งกว่าเดิม พร้อมปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนในประเทศไทย โดยนำร่องที่ถนนในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ชลบุรี และ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

“คาโอ เคมิคอล” เคมีภัณฑ์ เพื่อคุณภาพชีวิต

หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักคาโอจากธุรกิจสินค้าอุปโภคที่เป็นสินค้าคู่เรือนคนไทยมากว่า 60 ปี ไม่ว่าจะเป็นผงซักฟอก แอทแทค น้ำยาซักผ้าขาวไฮเตอร์ หรือผ้าอนามัยลอรีเอะ แต่จริงๆ แล้วคาโอยังมีอีกหนึ่งธุรกิจ คือคาโอ เคมิคอล จำหน่ายเคมีภัณฑ์ที่มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมทางการเกษตร เคมีภัณฑ์เพื่อการก่อสร้างและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เคมีภัณฑ์เพื่อโรงหล่อ พลาสติก ยาง และอื่นๆ โดยคาโอ ประเทศไทย ยังเป็นศูนย์วิจัยพัฒนา พร้อมผลิตเคมีภัณฑ์ที่หลากหลายด้วยกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างครบวงจร และเคมีภัณฑ์ของเรานั้นยังไปอยู่ในห่วงโซ่อุปทานของสินค้าอุปโภคในชีวิตประจำวันอีกหลากหลายชนิดที่สามารถสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

KAO-NEWTLAC

จากขวดน้ำสู่ถนนคุณภาพ

NEWTLAC คือผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนจาก คาโอ เคมิคอล ที่สามารถปรับปรุงคุณภาพยางมะตอย ซึ่งเกิดจากการนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้ผงละเอียดสีเหลืองคล้ายน้ำตาลทราย จากนั้นนำไปผสมกับยางมะตอยปกติ ผลลัพธ์ที่ได้คือยางมะตอยชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติโดดเด่นทั้งด้านความแข็งแรง ความทนทานกว่าเดิม ทนการกัดเซาะน้ำได้ดี และยืดอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเดิม

ซึ่งจากผลการวิจัยของ KAO Corporation ประเทศญี่ปุ่น พบว่าการสร้างถนนด้วย NEWTLAC ทุก 100 ตารางเมตร สามารถนำขยะขวดพลาสติก PET มารีไซเคิลได้มากถึง 1,430 ขวด นอกจากนี้ ยางมะตอยผสม NEWTLAC นี้ ไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือดีกว่ายางมะตอยแบบ PMA (Polymer Modified Asphalt) แต่ยังช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยอนุภาคละเอียดที่เกิดจากยางมะตอย ช่วยลดมลพิษทางอากาศ และปัญหาขยะขวดพลาสติกที่เป็นวิกฤตระดับโลก นับว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะพลาสติกและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง เป็นความสำเร็จที่จับต้องได้

ล่าสุด NEWTLAC ได้ถูกนำไปใช้งานจริงแล้วในสองพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ถนนในนิคมอมตะซิตี้ ชลบุรี จังหวัดชลบุรี บริเวณหน้าอาณาเขตของโรงงานคาโอฯ พื้นที่รวม 500 ตารางเมตร ใช้ NEWLTAC จำนวน 140 กิโลกรัม และได้รับความร่วมมือจากทางกรุงเทพมหานคร ในการปูถนนแยกนิมิตรใหม่ เขตมีนบุรี ในกรุงเทพมหานคร พื้นที่รวม 750 ตารางเมตร ใช้ NEWLTAC จำนวน 180 กิโลกรัม อีกทั้งปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการทดลองใช้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในแต่ละพื้นที่นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของคาโอต่อไป

KAO-NEWTLAC

อนาคตแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน กับเป้าหมาย “การไม่สร้างขยะ”

คาโอประสบความสำเร็จในการทำให้ขยะที่ไปฝังกลบ (Landfill) เป็นศูนย์ (Zero Waste) ในโรงงานผลิตของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 โดยสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้เกือบ 100% เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยลดการสร้างขยะพลาสติก คาโอตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2570 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%

KAO-NEWTLAC

NEWTLAC ของคาโอ จึงไม่เพียงแต่เป็นนวัตกรรมที่จะปฏิวัติวงการก่อสร้างถนนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ระยะยาวของบริษัทในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยคาโอมีเป้าหมายสู่ความยั่งยืนในปี 2583 เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนเป็นศูนย์ และบรรลุเป้าหมายให้ขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติกเป็นศูนย์ กล่าวคือ ปริมาณพลาสติกที่ใช้ต้องเท่ากับปริมาณพลาสติกที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ ถูกนำมารีไซเคิล

ดังนั้น NEWTLAC จึงเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่สอดคล้องกับเป้าหมายนี้อย่างชัดเจนในการสร้างนวัตกรรมนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วมาใช้ในการสร้างถนน ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกทิ้งกลับสู่สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ และการสร้างสังคมที่ยั่งยืนสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต

KAO-NEWTLAC

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https://chemical.kao.com/th/ หรือ Facebook: Kao Chemicals Thailand

banner Sample

Related Posts