8 สิ่งที่ธุรกิจต้องรู้ก่อนการโอนเงินแบบบล็อกเชน Blockchain จะมาปฏิวัติโลกการเงิน

8 สิ่งที่ธุรกิจต้องรู้ก่อนการโอนเงินแบบบล็อกเชน Blockchain จะมาปฏิวัติโลกการเงิน

การโอนเงินในปัจจุบัน โลกของธุรกิจการเงินรู้ดีว่ามีขั้นตอนทั้งฝั่งลูกค้าและฝั่งธนาคาร ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบยุ่งยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเพียงใด เทคโนโลยี Blockchain ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการดั้งเดิมให้ง่ายและประหยัดมากขึ้น นอกจากนั้นยังเพิ่มความรวดเร็วของกระบวนการได้มากขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนที่ยุ่งยากออกแต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ความพิเศษดังกล่าวเริ่มกลายเป็นส่วนสำคัญของระบบการโอนเงินตราในปัจจุบันให้กับธนาคารทั่วโลก และบริษัทหรือบุคคลที่มีการทำธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีบล็อกเชน เริ่มเข้าไปแทนที่ระบบการโอนเงินที่ล้าสมัยของระบบเดิม ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัว ไม่สามารถเชื่อมต่อกันระหว่างระบบได้อย่างง่ายๆ และที่สำคัญยังมีขั้นตอนการทำธุรกรรมที่ยุ่งยากมากกว่า และมีต้นทุนที่สูงกว่า ส่งผลให้บล็อกเชนกลายเป็นระบบที่เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น

8 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ Blockchain

1.ต้นทุนต่ำลง บล็อกเชนมีต้นทุนของการโอนเงินระหว่างกันต่ำลงเป็นอย่างมาก และสามารถเชื่อมต่อระบบไปได้ทั่วโลกเพราะแพลตฟอร์มจะอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งแน่นอนว่าจะไม่มีค่าใช้จ่ายตามกระบวนการเดิมซึ่งก็คือตัวกลางของการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของการเชื่อมระบบให้เกี่ยวโยงกันไปทั่วโลก ขณะที่ความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนก็ลดน้อยลงเนื่องจากระยะเวลาการโอนที่สั้นลง ช่วยลดความเสี่ยงลงได้

2.ใช้งานง่ายขึ้น บล็อกเชน เข้ามาตอบโจทย์เรื่องการยืนยันความถูกต้อง แน่นอนว่าเมื่อระบบมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องอยู่แล้ว จึงช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการยืนยันตัวตนของแต่ละครั้งที่ใช้งานได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ดังนั้นการใช้งาน บล็อกเชน จึงไม่ยุ่งยาก มากไปกว่าการใช้งานเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน เพียงทำตามขั้นตอนเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้นก็สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้สำเร็จ

3.โอนเงินที่รวดเร็ว บล็อกเชนนับเป็นระบบการโอนเงินที่รวดเร็ว เรียกว่าเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังจากที่กดปุ่มเลยทีเดียว หากเป็นแบบดั้งเดิม การโอนเงินระหว่างประเทศอาจจะต้องรอเวลา 4-7 วันเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับธนาคารที่รับโอนเงิน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกของเงินตราอยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถควบคุมการรับบรู้รายได้ของอัตราแลกเปลี่ยนได้ทันทีเช่นกัน

4.ไม่ต้องมีตนกลาง ด้วยรูปแบบการร้อยเรียงกันเป็นลูกโซ่ ของบล็อกเชน ช่วยให้เกิดการตรวจสอบความถูกต้องในทุกข้อของโซ่นั้นๆ ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดจะไม่สามารถลบส่วนที่เกิดขึ้นก่อนหน้าได้ แน่นอนว่าทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ทั้งความผิดพลาดและถูกต้อง จนเมื่อระบบประมวลผลว่าเกิดความผิดพลาด สิ่งนั้นก็จะถูกลบออกจากระบบทันที ช่วยให้เกิดความถูกต้องแบบสำเนาไปยังทุกบล็อกที่ร้อยเรียงกันไปทั่วโลกนั่นเอง ด้วยโครงสร้างเช่นนี้จึงทำให้ตัวกลางที่จะต้องคอยตรวจสอบหมดหน้าที่ลง เหลือเพียงการเชื่อมโยงระหว่างระบบด้วยกันเองเท่านั้น

5.มาตรการความปลอดภัย บล็อกเชนขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากโครงสร้างของการบันทึกข้อมูลที่ทำสำเนาจัดเก็บไว้ในทุกบล็อก ทำให้ระบบมีความถูกต้อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงยาก เพราะจะต้องไปตามแก้ทุกบล็อกที่มีทั่วโลก ซึ่งมีโอกาสน้อยมาที่จะเกิดขึ้นได้จริง แต่เมื่อเกิดความผิดพลาดของระบบก็จะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างง่ายดาย จึงทำให้การแก้ไขสิ่งจอมปลอมทำได้อย่างง่ายดายด้วยเช่นกัน

6.มีความส่วนตัวบนนิรนาม แน่นอนว่าระบบดังกล่าวเป็นการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ ทำให้การโอนเงินที่มีข้อเท็จจริงเป็นหลักฐานที่ถูกทำสำเนาไปทั่วโลก แต่ในความเป็นจริงแล้วจะไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนของบริษัทนั้นทั้งหมด นั่นเพราะเมื่อได้ระบการตรวจสอบเพียงครั้งเดียว ระบบก็จะบันทึกและยืนยันบุคคลเหล่านั้นได้ตลอดไปนั่นเอง นอกจากนั้นระบบยังตรวจสอบจากรูปแบบการทำธุรกรรมเพิ่มเข้ามาประกอบการยืนยันตัวตน ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าบุคคลนั้นๆมีตัวตนจริงๆเพราะมีการเคลื่อนไหวของเงินตราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

7.ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ระบบบล็อกเชนยังเป็นช่วงของการเริ่มต้นใช้ระบบ ยังคงมีอีกหลายประเทศที่เริ่มศึกษาเช่นในประเทศไทย ขณะที่อีกหลายประเทศก็เริ่่มนำเข้ามาใช้กับบางส่วนของระบบการเงินหลักของประเทศ แน่นอนว่าด้วยข้อดีของบล็อกเชน ผสานกับทิศทางของดิจิทัลทางด้านการเงิน ก็เชื่อแน่ว่าบล็อกเชนจะเริ่มเข้ามาแทนที่ระบบการเงินในปัจจุบันได้อย่างมากมาย ซึ่งในอนาคตก็ไม่ได้จำกัดว่าจะเกิดขึ้นเพียงระบบการเงินเท่านั้น ด้วยความสามารถของการยืนยันตัวตนที่ชัดเจนของบล็อกเชนนั่นเอง

8.ทางเลือกที่ดีที่สุดของนักพัฒนาในปัจจุบัน บล็อกเชนนับเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดที่นักพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเลือกใช้ เนื่องจากสามารถเลือกได้ว่าจะใช้แบบส่วนตัวหรือสาธารณะ อีกทั้งยังมีแพลตฟอร์มกลางที่ให้เลือกเริ่มต้นใช้ได้อย่างสะดวกและไม่เปลืองค่าใช้จ่าย การเลือกพัฒนาก็มีต้นแบบของระบบเงินตราที่เรียกว่า บิทคอยต์ ให้ดูเป็นตัวอย่าง จึงชัดเจนว่าทางเลือกของการใช้บล็อกเช่นเพื่อระบบการเงินเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางแล้วนั่นเอง

ในอนาคตหากจะเกิดระบบแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลดิจิทัลขึ้นมาใหม่ก็ไม่น่าแปลกใจเลย เพราะความรวดเร็วของเทคโนโลยี บวกกับความสามารถของบล็อกเชนที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน มีโอกาสที่จะทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินรูปแบบใหม่ขึ้นมาอย่างแน่นอน ไม่เว้นแม้กระทั่งการโอนเงินระหว่างประเทศเท่านั้นหากต่อไปเราอาจจะได้เห็นการโอนเงินที่ลงลึกไปถึงการโอนเงินระหว่างบุคคลที่สามารถเลือกใช้สกุลเงินดิจิทัลเดียวกันทั่วโลกก็เป็นได้

Related Posts