ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตั้งพันธกิจลดโลกร้อน ภายในปี 2573

COP 24

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น เข้าร่วมการประชุม COP 24 (Conference of Parties) หรือการประชุมรัฐภาคีออนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 24 ณ เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์

โดยมีผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญ จากชไนเดอร์ อิเล็คทริค ร่วมนำเสนอนวัตกรรมด้านโซลูชัน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่รุนแรงขึ้นทุกวัน

จากรายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) ที่ได้เรียกร้องให้มีการดำเนินการเร่งด่วนในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในฐานะองค์กรที่มุ่งเน้นการสนับสนุนเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด

ได้เร่งการมีส่วนร่วมในการประชุมสหประชาชาติ เพื่อดำเนินการตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations’ Sustainable Development Goals)

โดยในวาระของการประชุม COP24 ที่จัดขึ้น ณ เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 3 ถึง 14 ธันวาคม 2561 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังได้ตอกย้ำคำมั่นสัญญาในการเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2573 ด้วยการใช้โซลูชั่นที่จะช่วยเร่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ

พันธกิจสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ในปี 2573

“สภาพภูมิอากาศกำลังตกอยู่ในภาวะฉุกเฉินหนักขึ้นและหลายประเทศกำลังพยายามรับมือกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งการเซ็นสัญญาข้อตกลงปารีสเมื่อสามปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้เราเข้าใจถึงปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น ตอนนี้เรามาถึงจุดสำคัญที่ต้องเปลี่ยนเพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น

ด้วยการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ซึ่งต่ำกว่าที่อุตสาหกรรมเคยกำหนดไว้ก่อนหน้านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติในระบบนิเวศที่สำคัญ” นายกิลเลส เวอร์มอท เดสโรชส์ รองประธานอาวุโสฝ่ายความยั่งยืน กล่าว

ในเดือนพฤศจิกายน 2558 ก่อนวันงาน COP 21 หนึ่งวัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ประกาศแผนงานในการสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนภายในปี 2573 และนับเป็นการประกาศคำมั่นที่มีต่อวาระการประชุม COP24 โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค จะยกระดับความมุ่งมั่นพยายามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอย่างแข็งขัน บนฐานความริเริ่มสามประการ

  1. ก่อนปี 2563: บรรลุพันธสัญญาใหม่ 21 ข้อ ภายใต้โครงการ Schneider Sustainability Impact ซึ่งเป็นโครงการสร้างความยั่งยืนของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในช่วงระหว่างปี 2561 – 2563 ที่ให้โครงร่างเพื่อเป็นแนวทางเฉพาะ

โดยอิงตามข้อสันนิษฐานว่าโลกจะทะลุภาวะโลกร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสจากอุณภูมิสูงสุดที่ควรจะเป็นภายในปีพ.ศ. 2593 และประเมินความถูกต้องผ่านแนวคิดริเริ่ม Science Based Targets ที่กลุ่มธุรกิจของชไนเดอร์ อิเล็คทริคได้มีการลงนามไว้ในปี 2559

2. บรรลุความเป็นกลางด้านคาร์บอนภายในปี 2573 ทั้งในส่วนของโรงงานและไซต์งานต่างๆที่มีส่วนร่วมในระบบนิเวศอุตสาหกรรมเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์และลูกค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว บริษัทฯ จะดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้

· ช่วยลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับลูกค้าที่ใช้ EcoStruxure

· เปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ 100% และสามารถนำของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ได้100%

· เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานให้เป็นสองเท่าของกำลังการผลิตในปี 2548

3. เริ่มตั้งแต่วันนี้จนถึงปี 2593: ลดขอบเขตการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งใน scope 1 และ scope 2 ให้น้อยลงกว่าปี 2558 ถึง 50% สอดคล้องตามหลักการที่ชี้นำแนวทางความริเริ่ม Science Based Targets ซึ่งเป็นเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามฐานทางวิทยาศาสตร์

สร้างอนาคตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน จากประสิทธิภาพด้านพลังงาน

“การตัดสินใจของเราในวันนี้ นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้มั่นใจว่าโลกจะปลอดภัยและยั่งยืนสำหรับทุกคน ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเชื่อว่านวัตกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปัจจุบันเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี

การประชุม COP24 ในประเทศโปแลนด์ในปีนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของเราผ่านโซลูชั่นที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างแท้จริง

อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเราช่วยตอบโจทย์เป้าหมายของการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน 17 ประการ (17 Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติได้อย่างไร” นายกิลเลส เวอร์มอท เดสโรชส์ กล่าว

สิ่งที่ดีสำหรับสภาพภูมิอากาศ คือสิ่งที่ดีสำหรับเศรษฐกิจเช่นกัน โซลูชั่นของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ที่ให้โอกาสมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนของการสร้างงาน ช่วยพัฒนาด้านสาธารณสุข ฯลฯ ซึ่งหลายโครงการของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในโปแลนด์ยังแสดงให้เห็นถึงประเด็นต่อไปนี้

· ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ทำการปรับปรุงระบบจ่ายไฟฟ้าของโรงงานกระจกเซนต์ โกเบน (Saint Gobain) ที่ตั้งอยู่ในเมือง ดอมบรอวากูร์ญิตชาให้มีความทันสมัย ซึ่งโครงการแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2560

โดยได้มีการเปลี่ยนหม้อแปลงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ผ่านบริการ EcoSruxure Power Consulting Services ซึ่งช่วยลดการสูญเสียพลังงานลงถึง 16% ในปี 2561 อีกทั้งยังช่วยลดรายจ่ายการลงทุนได้ถึง 30%

· ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้ติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงานในอาคารให้กับศูนย์การประชุมนานาชาติแห่งคาโตวีตเซ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน COP24 รวมถึง Polish National Radio Symphony Orchestra Hall ที่ใช้จัดแสดงคอนเสิร์ตในวันพิธีเปิด ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการใช้พลังงานลงได้มากแล้ว ยังช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ที่มาร่วมงานอีกด้วย

มุ่งแก้ปัญหาความยากไร้ด้านพลังงาน และภาวะฉุกเฉินของสภาพภูมิอากาศ

การเข้าถึงพลังงานเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศจะไม่เกิดผล หากไม่คำนึงถึงความต้องการของประชาชนจำนวน 2.3 พันล้านคนที่ยังเข้าถึงพลังงานได้ยาก นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานอย่างยั่งยืนในทุกพื้นที่อย่างจริงจัง

แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ยังต้องต่อสู้กับความขาดแคลนเชื้อเพลิง ในสถานการณ์ที่ชาวบ้านไม่สามารถจ่ายเงินสำหรับการทำให้บ้านตัวเองมีอากาศอบอุ่นในราคาที่จ่ายไหว ซึ่งในการประชุม COP24 มูลนิธิชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric Foundation)

ภายใต้การอุปถัมภ์ของมูลนิธิเดอฟรองซ์ (Foundation de France) ร่วมกับ Ashoka ซึ่งเป็นองค์กรที่ดำเนินการด้านสังคม จะเกาะติดความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาความยากจนด้านเชื้อเพลิงในยุโรป ด้วยการเปิดตัวข้อเรียกร้องโครงการใหม่สำหรับปี 2562

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากหลายคนต้องอพยพออกจากบ้าน อันเป็นสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติที่รุนแรง จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงทำให้เกิดการเรียกร้องให้มีโซลูชันที่ช่วยให้เข้าถึงพลังงานสะอาด น่าเชื่อถือและราคาไม่แพง

โดยในการประชุม COP24 ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ได้มีการเปิดตัวโซลูชัน Villaya Emergency เพื่อช่วยให้ผู้เดือดร้อนสามารถเข้าถึงพลังงานได้ง่ายขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นโซลูชั่นโครงข่ายไมโครกริดแบบใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ที่พร้อมใช้งานได้ในทุกสถานการณ์

ด้วยระบบที่ผสานรวมเทคโนโลยีต่างๆ ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค พร้อมความเชี่ยวชาญขององค์กรสตาร์ท-อัพ โดยโซลูชั่นทั้งหมดได้ถูกติดตั้งในคอนเทนเนอร์มาตรฐาน เพื่อความสะดวกในการขนย้าย และติดตั้งง่ายในทุกพื้นที่ในโลก

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

Villaya Emergency

banner Sample

Related Posts