FIT เดินหน้าโครงการ GovTech Mission – One Nations, One Mission ยกระดับประเทศไทย ประกาศผล 8 สตาร์ทอัพชนะเลิศด้านการศึกษาและสาธารณะสุข เตรียมนำลงพื้นที่รับรู้จุดอ่อน และเดินหน้าสู่การสร้างต้นแบบและพัฒนาสู่ระดับนโยบายต่อไป ชิงเงินรางวัลกว่า 7 แสนบาท
สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย (FIT) ประกาศทีมชนะเลิศของโครงการส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีสาธารณะสุข ผ่านโครงการ GovTech Mission – One Nations, One Mission ยกระดับประเทศไทย เพื่อเตรียมการพัฒนาไปสู่ระดับนโยบายของภาครัฐต่อไปในอนาคต
โดยทีมสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการศึกษาทีมแรก ได้แก่รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ Career Visa ช่วยแนะแนวอาชีพที่เหมาะสม ด้วยรูปแบบแพลตฟอร์มการสร้างเชื่อมโยงผ่านโมบายแอปพลิเคชั่น ในการทำแบบประเมินอาชีพ ซึ่งพัฒนาจากการเรียนการสอนจริง พร้อมเข้าถึงผู้มีประสบการณ์จริงจากอาชีพเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นการเรียนรู้แนวทางอาชีพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับบุคคลโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ทีมสตาร์ทอัพ มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะ ตั้งเป้าช่วยแก้ปัญหานิสิต นักศึกษากว่าปีละ 6 ล้านคนที่จบการศึกษาแล้วยัง สามารถรู้จักตัวตนของตนเองและเลือกงานได้อย่างเหมาะสม ช่วยยกระดับประเทศไทย
คัดจาก 100 ทีม และคัดเหลือ 8 ทีมที่โดดเด่น เพื่อยกระดับประเทศไทยเข้าสู่การยกระดับด้านเทคโนโลยีสุขภาพและเทคโนโลยีการศึกษาโดยเฉพาะ งานนี้มีการเก็บข้อมูลทั้ง 5 ด้านของการทำงาน และจับประเด็นสกิลของผู้ทำแบบประเมิน โดยใช้ MLในการเมินผล เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสมต่อไป
รองชนะเลิศอันดับ 1 คือทีม JabJai แพลตฟอร์มของการเชื่อมโยงครู ผู้ปกครอง และนักเรียน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นคือครูต้องเสียเวลากับการสร้างงานธุรการ ทำให้ครูไม่มีเวลาสอนเด็กที่เพียงพอ และเพื่อเป้าหมายของการคืนครูสู่นักเรียน จึงทำให้เกิด School Bright
โดยช่วยให้ครูสามารถ ใช้งานและทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น โดยครูสามารถรายงานได้อย่างอัตโนมัติทันทีหลังการตั้งค่าพื้นฐานเสร็จ และสร้างความรวดเร็ว ส่งผลให้คืนครูให้กับนักเรียนได้มากกว่า 90% ทำให้คุณภาพของการศึกษาดีขึ้น ผ่านการกรอกข้อมูลรายงานการศึกษา ซึ่งเป็นงานด้านเอกสารให้กลายเป็นรูปแบบดิจิทัล
โดยแพลตฟอร์มนี้ ช่วยลดเวลาการทำงานของครูให้เหลือเพียงแค่ 15 นาที ต่อวันเท่านั้น โดยจากการประเมินของเวลาที่ครูทั้งประเทศไทยต้องสูญเสียไปกับงานเอกสารต่อวันนั้น คิดเวลาแล้วเป็นราว 15,862 ปีเลยทีเดียว โดยครูเกือบหมื่นและนักเรียนกว่าแสนคน จะได้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนี้
ทั้งนี้ระบบสามารถสอนการใช้งานได้เร็วสุด15 นาทีหลังจากนั้นจะเกิดความชำนาญขึ้นในระยะเวลาประมาณ 1 เทอมหรือ 1 ปีการศึกษา ซึ่งแพลตฟอร์มดังกล่าวรองรับการสร้างสร้างรายงานตรงตามมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการโดยเฉพาะ และเพิ่มเติมรูปแบบรายงานได้ตามความต้องการของแต่ละโรงเรียน
รองชนะเลิศอันดับ 2 คือทีม Base Playhouse แพลตฟอร์มการสร้างความรู้ในรูปแบบเกม ที่ช่วยฝึกทักษะการทำงานจริงให้เกิดขึ้นผ่านการเล่นเกมเกมนี้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการที่เด็กไทยในศตวรรตที่ 21 เมื่อจบออกมายังขาดทักษะการทำงาน และหากเป็นเพียงออนไลน์อย่างเดียวก็จะขาดทักษะในการทำงานกับคน
แพลตฟอร์มนี้จึงเป็นการผสานการทำงานร่วมกันกับทักษะออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านบอร์ดเกมที่สำคัญ ซึ่งระบบของเกมหลังจากที่ครูเซ็ตอัพระบบการสอนแล้ว เด็กจะสามารถสร้างทักษะที่สำคัญ ผ่านบอร์ดเกมที่ผสานหลักการดังกล่าว
ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น การคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ และทักษะของการสื่อสาร โดยจะเป็นการผสานระหว่างหลักการหลักๆทั้ง 2 ด้านที่สำคัญ นั่นก็คือการคิดและการลงมือทำ ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงบอร์ดเกมเข้าสู่โครงสร้างการเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่นในอนาคต
ทั้งนี้เน้นที่ระดับมัธยมต้น ซึ่งในปัจจุบัน Base Playhouse มีการทดลองใช้งานอยู่ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา และวชิราวุธ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ซึ่งจะสามารถประเมินได้ผ่านการวัดพฤติกรรมของการเล่น และวัดจากผลลัพท์ของการผ่านกระบวนการเล่นที่ถูกต้อง โดยคาดว่าจะกระจายไปสู่โรงเรียนอื่นๆทั่วประเทศ ราวปี 2019
ทีมรองชนะเลิศอันดับ 3 คือทีม Voxy แพลตฟอร์มของการสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ ด้วยการจัดสรรค์คอร์สที่เหมาะสมจากเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์ จากจุดเริ่มต้นของการที่คนไทยส่วนใหญ่ พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แม้ว่าจะใช้งบประมาณมากมายเพียงใดก็ตาม ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวเกิดจากความไม่พร้อมของครู ความไม่กล้าพูดของคนไทยเอง
แพลตฟอร์มนี้จะใช้เนื้อหาจากการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษจากการใช้งานจริง และเป็นครูภาษาที่มาจากทั่วโลกที่ โดยจบโดยตรงด้านการสอนภาษษอังกฤษระดับปริญญาโทโดยเฉพาะ ซึ่งเบื้องต้นเมื่อเข้าสู่ระบบ เอไอจะประเมินความสามารถผู้เรียน เพื่อจัดคลาสของการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ขณะที่ด้านการวัดผล สามารถสอดรับกับระดับมาตรฐานของภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับ โดยปัจจุบันมีการใช้งานกว่า 5 ล้านแอคเค้าต์ ซึ่งกว่า 96% สามารถพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษได้มากกว่าระดับพื้นฐานด้วยการใช้แพลตฟอร์มนี้ 6-11 เดือน ในการยกระดับขั้นได้มากกว่า 2 ระดับ ผ่านสมาร์ทโฟนของตนเองของตนเองอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ราคาการใช้งาน 159 บาท ต่อคนต่อเดือน โดยสามารถเรียนรู้ได้ทั้งแพลตฟอร์ม ผ่านเน็ตเวิร์คครูกว่า 600 คนจากทั่วโลก ซึ่งจะตอบโจทย์การเรียนรู้ทั้งขั้นระดบพื้นฐานและขั้นสูง ตามการสอนจริงของผู้สอนโดยเฉพาะ หลังการประเมินความรู้จากระบบเอไอที่เหมาะสมนับตั้งแต่เริ่มต้นเรียนรู้
และทีมรองชนะเลิศอันดับ 4 ได้แก่ทีม CodeKIT แพลตฟอร์มของการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม จากความต้องการที่ยังขาดทักษะการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เป็นอย่างมากของแรงงานในประเทศไทย ซึ่งบ้านเรายังมีการเรียนการสอนผ่านการโค้ดลงกระดาษ ซึ่งนอกจากจะขาดแคลนครูที่มีทักษะของการสอนโค้ดดิ้งแล้ว ยังมีอุปสรรคของหลักสูตรทางการศึกษาที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการเรียนโค้ดที่มากเพียงพอ
แพลตฟอร์มนี้จะเข้ามาช่วยสอนพื้นฐานของการสร้างเอไอโปรแกรม เพียงระยะเวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการเรียนรู้จะเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน มีการตรวจสอบขั้นตอนที่ผิดพลาด พร้อมการติดตามของครูที่สะดวกและง่ายดาย อีกทั้งยังสามารถติดตามการเรียนแบบเฉพาะบุคคลอีกด้วย
อีกทั้งยังมีการสร้างแคมป์ ซึ่งมีความสำเร็จจากการเรียนการสอนที่ผ่านมา ด้วยระยะเวลา 3 เดือน โดยสามารถเปลี่ยนจากบาเทนเดอร์ที่ไม่รู้เรื่องการเขียนโปรแกรมเลย ให้สามารถเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน (เรียน 2 เดือน ฝึกงาน 1 เดือน) และปัจจุบันกลายเป็นพนักงานทางด้านโปรแกรมมิ่งไปแล้ว
ปัจจุบัน มีผู้เรียนที่อายุสูงที่สุด 55 ปี ซึ่งมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน โดยรองรับการเรียนรู้ ภาษาคอมพิวเตอร์ราว 5-10 ภาษาในอนาคต ซึ่งสามารถย่นย่อการเรียนวิชาภาษาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน 1 เทอมได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน ซึ่งจะสามารถช่วยครูในประเทศไทยให้สอนได้ง่ายขึ้น
ขณะที่ทีมด้านเทคโนโลยีสาธารณะสุข ที่ได้รับการคดเลือกมี 3 ทีม ได้แก่ Arincare แพลตฟอร์มด้านเภสัชกรที่ใช้ดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ซึ่งจากการสำรวจร้านขายยาในชุมชนพบมากกว่า 21,000 ร้านค้า และรองรับผู้ใช้บริการกว่า 11 ล้านคน แต่ยังมีการทำทุกอย่างแบบแมนนวลและออฟไลน์เท่านั้น
แพลตฟอร์มของร้านขายยานี้ จึงเกิดขึ้นเพื่อบริการฟรีทั้งในส่วนของบริหารคลังยา การเก็บข้อมูลคนไข้ การจ่ายยา โดยเปิดบริการให้ใช้ฟรีสำหรับเภสัชกรไทยแบบฟรี อีกทั้งยังมีการให้คำปรึกษษและเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในการใช้งาน การบริหารธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ร้านขายยาชุมชนสามารถทรานส์ฟอร์มเข้าสู่ดิจิทัลได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
ทั้งนี้เราสามารถให้บริการได้กว่า 2,000 ร้านยา และสามารถจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้มากกวาา 30,000 รายในช่วงปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังสามารถทำงานร่วมกับการให้บริการโรงพยาบาลชุมชน หรือหน่วยงานสาธารณะสุขชุมชน ในการบริหารคลังยา และในอนาคตจะมีการเชื่อมข้อมูลการใช้ยานอกโรงพยาบาลเหล่านี้เข้าสู่ระบบของโรงพยาบาล เพื่อให้กลายเป็นฐานข้อมูลหนึ่งเดียวกัน
ซึ่งจะช่วยให้การดูแลสุขภาพของคนไทย ดีขึ้นจากชุมชนและลดภาระของหมอที่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อการบริการทางการแพทย์ และตั้งเป้าหมายในอนาคตที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเภสัชกร ในการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานระบบแพลตฟอร์มใหม่นี้
ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ Medisee แพลตฟอร์มการบริการของคลีนิก ทั้งรูปแบบบริการและบริหารจัดการที่ครบครัน พร้อมทั้งรายงานทางการแพทย์ที่ช่วยให้คลีนิก ทำการรักษาต่อเนื่องได้ง่ายยิ่งขึ้น ผ่านการใช้งานเว็บเซอร์วิสต์ที่จะเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากโรงพยาบาล และแจ้งเตือนการทานยาให้ตรงเวลามากขึ้น
อีกทั้งยังมีระบบติดการรักษาของแพทย์ที่สะดวกมากขึ้น รวมทั้งรูปแบบการสื่อสารแบบเทเลเมดิซีน ซึ่งเปิดโอกาสให้คนไข้ที่มีผลการรักษา สามารถนำผลดังกล่าวเข้ามารับคำปรึกษาจากแพทย์ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ โดยแพลตฟอร์มนี้จะเข้ามาช่วยเสริมให้ระบบสาธารณะสุขของประเทศไทย ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของการักษาได้เป็นอย่างมาก
และสุดท้ายทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ RemoteCare แพลตฟอร์มของการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวันให้สนุก โดยรูปแบบของการทำงานของแพลตฟอร์มนี้จะเชื่อมเข้ากับอุปกรณณ์ตรวจวัด Warable Device เพื่อการวัดสุขภาพต่างๆเข้ากับแอปพลิเคชั่น และส้รางรางวัลในการดูแลสุขภาพจากการนับก้าวเพื่อแลกเป็นรางวัล ซึ่งปัจจุบันมีเป็นรูปแบบเงินสด
ซึ่งในปัจจุบันมีโรงพยาบาลภาครัฐใช้งานอยู่ 2 แห่ง และเอกชนบางแห่ง โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มโรค NCDs หรือโรคอ้วนที่เป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ ที่รัฐจะต้องอุดหนุนการรักษากว่า 8.5 ล้านนคน ด้วยงบประมาณกว่า 2.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้รางวัลที่เกิดขึ้นมี 3 ระดับ Warm Up ซึ่งะต้องเดิน 8,000 ก้าวต่อวันในระยะเวลา 20วัน ต่อเดือน จะได้รับเงินคืน 200 บาท ระดับสปีดอัพ 9,000 ก้าวต่อวัน ในระยะเวลา 20 วันต่อเดือน จะได้รับเงินคืน 300 บาท และสุดท้ายระดับ Level Up ซึ่งเมื่อเดิน 10,000 ก้าวต่อวัน ในระยะเวลา 20 วันต่อเดือน จะได้รับเงินคืน 500 บาท
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง