ทรินา โซลาร์ (Trina Solar) ผู้นำระดับโลกด้านผลิตภัณฑ์โฟโตวอลเทอิก (PV หรือโซลาร์เซลล์) และระบบกักเก็บพลังงาน โชว์แผงโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ Vertex N ที่สุดแห่งนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ก่อนงาน ASEAN Sustainable Energy Week 2024 พร้อมประกาศแผนกลยุทธ์เพื่อรุกตลาดพลังงานหมุนเวียนในไทย ด้วยประสบการณ์กว่า 3 ทศวรรษในอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ ทำให้ทรินาโซลาร์ มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อรองรับการใช้งานในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการสาธารณูปโภค การพาณิชย์ อุตสาหกรรม (รวมถึงภาคการผลิต การดูแลสุขภาพ และการบริการ) ตลอดจนโครงการที่อยู่อาศัย กล่าวได้ว่าทั้งระบบโซลาร์เซลล์และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) ของบริษัทพร้อมรับบทบาทสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศไทยไปสู่การบรรลุผลสำเร็จด้านพลังงานได้ตามเป้าหมาย
- – เศรษฐกิจ ลาว เติบโตต่อเนื่อง โอกาสทองบริการและพลังงานหมุนเวียน
- – กัมพูชา เปิดประมูลโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์ ครั้งใหญ่
แผงโซลาร์เซลล์รุ่น Vertex N ที่สุดแห่งนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ผสานสุดยอดเทคโนโลยี 2 ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ เทคโนโลยี n-type i-TOPCon และเทคโนโลยีแผ่นเวเฟอร์ขนาด 210 มม. จนให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงที่สร้างสถิติโลก (740.6 วัตต์ ในห้องปฏิบัติการ) และให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และยังสามารถทำงานได้อย่างลงตัวกับชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน จนได้เป็นโซลูชันที่ทำงานได้อย่างเสถียรที่สุด นอกจากนี้ การจัดหาอุปกรณ์ทั้งหมดจากแหล่งเดียวยังสะดวกต่อการขนส่งและการให้บริการหลังการติดตั้งระบบด้วย
นายเดฟ หวัง หัวหน้าอนุภูมิภาค ทรินา โซลาร์ กล่าวว่า “ด้วยศักยภาพของแผงโซลาร์เซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูงของทรินา โซลาร์ ประกอบกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการผลักดันพลังงานสะอาด จึงมั่นใจว่าประเทศไทยจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างแน่นอน”
ดร. ลีโอ จ้าว หัวหน้าฝ่ายระบบกักเก็บพลังงาน ทรินา โซลาร์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริมว่า “ทรินา โซลาร์ พร้อมที่จะนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชันที่ล้ำสมัย เพื่อช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ 51% ภายในปี 2570 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593”
โอกาสทองของไทย
แผน PDP2024 ของไทยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 51% ภายในปี 2570 โดยพลังงานแสงอาทิตย์คาดว่าจะมีสัดส่วนมากถึง 70% ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด นอกจากนี้ การที่ประเทศไทยกำลังเป็นศูนย์กลางดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาค ก็ยิ่งเพิ่มความต้องการพลังงานสะอาดมากขึ้น
ข้อมูลตามแผนพัฒนาพลังไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) คาดการณ์ว่า การใช้พลังงานหมุนเวียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 51% ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 20% ในปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าพลังงานแสงอาทิตย์จะมีสัดส่วนประมาณ 70% ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ขณะเดียวกันแผน PDP ยังระบุถึงมาตรการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ซึ่งมีความสำคัญและกระตุ้นให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ไฟฟ้าตามราคาที่แตกต่างกันตลอดทั้งวัน โดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มศักยภาพในการลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand)
แผนโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะหรือสมาร์ตกริดของประเทศได้ตั้งเป้าลดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดลง 1,000 เมกะวัตต์ และเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ ผ่านการใช้แหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ (DER) ซึ่งรวมถึงระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาดเล็กและระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) ซึ่งจะถูกรวมเข้ากับระบบไมโครกริดหรือโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อให้ได้แหล่งพลังงานที่มั่นคง
แผนการที่ยิ่งใหญ่นี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทยภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608
ทรินา โซลาร์ เป็นบริษัทแรกที่ได้รับการรับรอง TÜV Rheinland IEC สำหรับการทดสอบผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าของสถิติโลกด้านประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์และกำลังผลิตของโมดูลอีกด้วย บริษัทฯ ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากกว่า 4,000 รายการ และเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์
ทรินา โซลาร์ มุ่งมั่นที่จะสร้างระบบพลังงานที่เป็นศูนย์สุทธิ (Net Zero) โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การกักเก็บพลังงาน ไฮโดรเจน และอินเทอร์เน็ตพลังงาน บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 275.92 ล้านตัน และลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลง 8.3 ล้านตัน ภายในปี 2567
การทำตลาดในประเทศไทย
ทรินา โซลาร์ ได้เริ่มดำเนินงานโรงงานในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2559 และยังคงเดินหน้าลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเติบโตของตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศ โดยบริษัทฯ ได้เข้าร่วมในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่มากมายในประเทศไทย เช่น โครงการโซลาร์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ โครงการโซลาร์ลอยน้ำของสยาม ทารา และโครงการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้กับโรงงานและอาคารพาณิชย์ต่างๆ เช่น โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ให้กับบริษัท ปทุมธานี บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ บริษัท เอเวอร์ไชน์อิ้งกรีเดียนท์ บริษัท นารายณ์พร็อพเพอร์ตี้ และ บริษัท แสงวรรณวิทย์ เท็กซ์ไทล์
เดฟ หวัง ยังกล่าวด้วยว่า ทรินาโซลาร์ จะให้ความสำคัญกับโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำและระบบกักเก็บพลังงาน เพื่อสนับสนุนโครงการของรัฐบาลไทยในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนในกิจการพลังงานไฟฟ้า
โดยตัวอย่างโซลาร์ฟาร์ม ในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 โครงการนี้คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 41,000 ตัน และผลิตไฟฟ้าได้ 46 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี รองรับการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ 18,000 ครัวเรือน ทั้งนี้แผงโซลาร์ตระกูล Vertex ของบริษัท ยังใช้ในโซลาร์ฟาร์มสำคัญๆ หลายแห่งทั้งในประเทศอินเดีย มาเลเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์

ทั้งนี้การให้การยอมรับโซลาร์เซลล์ในวงกว้าง ตลอดจนการใช้แผงโซลาร์เซลล์และ BESS ในโครงการระดับสาธารณูปโภค ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ในมิติใหม่หลายด้าน โดยการนำแบตเตอรี่มาช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินระหว่างวัน และจ่ายพลังงานเมื่อจำเป็น จะช่วยลดการพึ่งพาโครงข่ายไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ทำให้โครงข่ายไฟฟ้าบริหารจัดการได้อย่างยืดหยุ่น และสามารถจ่ายพลังงานได้อย่างสม่ำเสมอและมีประสิทธิภาพ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันและผลิตด้วยพลังงานน้ำในช่วงกลางคืน
ขณะเดียวกัน BESS ก็จะช่วยกักเก็บการผลิตไฟฟ้าจากทั้งสองแหล่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ เราสามารถรวมกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ไว้ในระบบกักเก็บพลังงานได้ด้วย เช่น ที่ผลิตจากพลังงานความร้อนและพลังงานลม และเมื่อใช้งานร่วมกับเซลล์แบตเตอรี่ LFP (Lithium Iron Phosphate) ความจุสูงอย่าง Trina Storage Cell ที่มีอายุการใช้งานถึงราว 20 ปี ก็จะทำให้โครงการพลังงานทดแทนมีต้นทุนการกักเก็บพลังงานต่อหน่วย (LCOS) ลดลง และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากขึ้น
โดยรวมแล้วแนวทางดังกล่าวจะช่วยปรับปรุงการรักษาระดับโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (LOLE) และปรับปรุงความยืดหยุ่นทางพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการให้บริการที่สำคัญ
ทั้งนี้บริษัท ทรินาโซลาร์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 โดยมีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์โฟโตวอลเทอิก (PV หรือโซลาร์เซลล์) โซลูชันระบบพลังงาน และพลังงานอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์ PV ครอบคลุมตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การผลิต และการจำหน่ายแผงโซลาร์เซลล์ อีกทั้งยังมีระบบสำหรับสถานีไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ส่วนในด้านพลังงานอัจฉริยะนั้น ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การดำเนินงานและบำรุงรักษา โซลูชันการกักเก็บพลังงาน ไมโครกริดอัจฉริยะ และการพัฒนาและจำหน่ายระบบพลังงานจากหลายแหล่ง โดยมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำโซลูชันด้านพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะและพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานใหม่เพื่อการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต
ยุทธศาสตร์โลกาภิวัตน์จัดเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับทรินาโซลาร์ บริษัทฯ ได้วางรากฐานให้พร้อมก้าวสู่ตลาดโลกตั้งแต่ต้น โดยทรินาโซลาร์ ก่อตั้งขึ้นที่เมืองฉางโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ที่ดูแลกิจการในทั่วโลก จากนั้นในปี พ.ศ. 2565 ได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศที่เมืองเซี่ยงไฮ้ และเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมงานระดับโลกของบริษัทฯอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีผู้บริหารระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาจากกว่า 70 ประเทศและภูมิภาค เข้ามาร่วมงานกับบริษัทฯมากมาย ทำให้มีสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคทั้งในซูริก ซิลิคอนวัลเลย์ ไมอามี สิงคโปร์ และดูไบ ตลอดจนสำนักงานหรือสาขาในมาดริด เม็กซิโก ซิดนีย์ และโรม และยังมีฐานการผลิตในสหรัฐอเมริกา ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมแล้วบริษัทได้ดำเนินกิจการในกว่า 170 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก
โซลูชันของทรินาโซลาร์ ในงานคอนเฟอเรนซ์ ASEW
ทรินาโซลาร์ ยึดมั่นในแนวคิด “พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับทุกคน” ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังไฟฟ้าของประเทศไทย และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยทรินาโซลาร์ เป็นบริษัทเดียวที่นำเสนอผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร ทั้งแผงโซลาร์เซลล์ ชุดปรับมุมเอียงตามแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงาน ทำให้มั่นใจได้ว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วย (LCOE) และต้นทุนอุปกรณ์ประกอบระบบ (BOS) จะลดลง
โดย ทรินาโซลาร์ จะจัดแสดงโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์ล่าสุดในงาน ASEAN Sustainable Energy Week (ASEW) ที่กรุงเทพ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมากมายทั้งแผงโซลาร์รุ่น Vertex N, TrinaTracker Vanguard 1P ที่ปรับปรุงใหม่ และโซลูชันการกักเก็บพลังงาน ตัวอย่างเช่น Elementa 2 ขนาด 5MWh ซึ่งมาพร้อมเซลล์ LFP ความจุ 314Ah ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของทรินาโซลาร์ โดยเฉพาะ
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของบริษัท และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ล้ำหน้า เพื่อช่วยกันผลักดันอนาคตของพลังงานสะอาดในประเทศไทยให้เดินหน้าต่อไปด้วยกัน ได้ที่ฮอลล์ 3 บูทหมายเลข R29 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 3 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
#TrinaSolar #พลังงานแสงอาทิตย์ #PDP2024 #พลังงานสะอาด #NetZero #ASEW2024 #VertexN