AIS ผนึกวิศวะ จุฬา ยกสถานีฐาน 5G จริงให้เรียนรู้ครั้งแรกของสถาบันการศึกษา

AIS ผนึกวิศวะ จุฬา ยกสถานีฐาน 5G จริงให้เรียนรู้ครั้งแรกของสถาบันการศึกษา

AIS

AIS จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้วิจัยและพัฒนาเครือข่าย 5G ในชื่อ “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE ” ที่ปล่อยสัญญาณจริงพร้อมใช้ของเครือข่าย 5G บนคลื่น 2600 MHzและ 26 GHz แห่งแรกและแห่งเดียวของไทย ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบ 5G ช่วยยกระดับนิสิตและคณาจารย์ได้เรียนรู้ ตลอดจนต่อยอดไปสู่งานวิจัยและพัฒนาโครงงานทางวิศวกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต คือการสื่อสารที่รวดเร็วไร้รอยต่อ ความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการเปิดตัว “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE ” จึงนับเป็นครั้งแรกของการยกสถานีฐาน 5G ใน 2 ย่านความถี่ที่เปิดใช้งานได้จริงมาไว้ในมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้นิสิตและคณาจารย์ได้เรียนรู้ 5G ของจริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถต่อยอดไปสู่การวิจัยและพัฒนา และนำความสามารถของ 5G ไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายรูปแบบต่อไปในอนาคต

“เรารู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาไอเดียด้วยเทคโนโลยีอย่าง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse,Robotic ,ฯลฯ บนเครือข่าย 5G”

AIS

“แม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีบริการ 5G เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดย AIS เป็นรายแรกที่เปิดให้บริการด้วยการมีคลื่นความถี่มากที่สุดคือ 1420 MHz แต่ประโยชน์ของ 5G ยังจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของ Digital Transformation ที่จะพลิกโฉม Business Model ของทุกภาคส่วนให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก Digital Disruption และการเกิดขึ้นของโควิด ดังนั้นการทำงานร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อค้นคว้า วิจัย ทดลอง ทดสอบ จึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดเสมอมา ดังเช่น ความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องผ่าน use case ต่างๆ ทั้งที่เป็นผลงานวิจัยของคณาจารย์ หรือ โครงการของนิสิต ที่ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ นวัตกรรมเพื่อประเทศ”

การเปิดตัว “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา มีเป้าหมายเพื่อให้เป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริงด้วย LIVE Private Network ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถใช้เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยีต่างๆทั้ง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse, Robotic, ฯลฯ บน 5G ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพราะได้ติดตั้งสถานีฐาน 5G ที่เลือกเอาคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) เป็นแห่งแรกในสถาบันการศึกษาที่เหมาะกับการพัฒนา Use case ในหลากหลายรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็น Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก (Low Latency), การสนับสนุนอุปกรณ์ส่งสัญญาณอย่าง 5G CPE , องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, พร้อมทั้งการสัมมนา workshop จาก Guest Speaker หลากหลายวงการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รวมไปถึงการเชิญชวนร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G อีกด้วย

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า วิศว จุฬาฯ เป็น 1 ในสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่เข้าไปร่วมทำงานกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กสทช. , กระทรวงดิจิทัลฯ หรือ ภาคเอกชน เพื่อทดลอง ทดสอบ use cases ต่างๆที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ sector หลักของประเทศให้ได้มากที่สุด ดังนั้นการมีสถานที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเสมือนจริงของระบบเครือข่าย 5G อย่างศูนย์ AIS 5G Playground และ 5G Garage ที่มีความครอบคลุมของคลื่นความถี่ของ 5G แบบ LIVE Network (เครือข่ายที่พร้อมใช้งานจริง) ในการให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัตินอกเหนือจากการเข้าใจเพียงแค่ภาคทฤษฎีร์อย่างเดียว

AIS

“ศูนย์แห่งนี้ถือว่าตอบโจทย์การเรียนรู้ยุคใหม่ และสามารถส่งเสริมให้นิสิต และ คณาจารย์ ได้ใช้เป็นแหล่งทำงานวิจัย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมบน 5G Sandbox ได้อย่างดี ที่สำคัญถือเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีจากเราและภาคปฏิบัติที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงานจริงจากผู้เชี่ยวชาญของ AIS ที่จะเข้ามาช่วยเสริมทักษะให้แก่นิสิตและคณาจารย์ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อประเทศไทย ผ่าน 5G ได้อย่างตอบโจทย์ที่สุดต่อไป”

โดยศูนย์ดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเบื้องต้นคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่มีส่วนของวิชาการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาจัดกรรมส่งเสริมการเรียน ซึ่งคาดว่าจะมีการจัดกิจกรรมราว 2 เดือนครั้ง เพื่อส่งเสริมความรู้อย่างต่อเนื่อง

ด้านนายวสิษฐ์ กล่าวตอนท้ายว่า “การที่ภาคการศึกษา ให้ความสำคัญกับการฝึกฝน สร้างทักษะเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะ 5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ ทำให้เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด ดังนั้นการศึกษาให้มากที่สุดย่อมทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาแนวคิดจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่ง AIS พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่”

Related Posts