AIS เดินหน้าภารกิจสำคัญ มุ่งพัฒนาและขยายโครงข่ายอัจฉริยะ 5G ให้มีความครอบคลุมการใช้งานในทุกพื้นที่ ทั้งกว้างสุด ไกลสุด สูงสุด และลึกสุดในไทย ล่าสุดตอกย้ำความเป็นที่ 1 ตัวจริงประกาศความสำเร็จ SEA COVERAGE บนพื้นที่ 2 ชายฝั่งทะเลไทย ทั้งอ่าวไทย และอันดามัน ชูนวัตกรรมโครงข่ายอัจฉริยะและสุดยอดเทคโนโลยีที่พร้อมให้บริการในทุกรูปแบบ ทั้งความเร็ว แรงและครอบคลุมมากที่สุดรายแรกในไทย ตอบโจทย์การใช้งานทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐ บริการประชาชนสาธารณูปโภค ผู้ประกอบการประมง ผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยว อาทิ ผู้ให้บริการท่าเรือเฟอร์รี่เรือยอร์ช เรือสปีดโบ๊ท ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ หนุนการเติบโตของเศรษฐกิจภาคพื้นทะเล หรือ Ocean Economy ในทุกมิติ
- – กสทช. ลุยรื้อสายสื่อสารเก่า ตามโครงการทดลอง Single Last Mile
- – AISทดสอบโรมมิ่ง 5G SA ร่วมกับ stc สำเร็จ เชื่อม คูเวต และ BICS
นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า “ภารกิจสำคัญที่เป็นหัวใจของชาว AIS คือ การส่งมอบบริการที่ต่อเนื่อง ด้วยคุณภาพสัญญาณและนวัตกรรมที่พร้อมให้เชื่อมต่อได้เสมออย่างไม่มีข้อจำกัด ดังนั้นเราจึงไม่เคยหยุดยั้งในการพัฒนาเครือข่ายให้รองรับความต้องการได้ดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ทั้งนี้หมายรวมถึงพื้นที่เดิมที่เคยครอบคลุมอยู่แล้ว ก็ต้องดียิ่งขึ้น จากความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
“สำหรับบริเวณชายหาดทะเลของไทย ที่มีพื้นที่รวมกว่า 3,000 กิโลเมตร ทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน ซึ่งได้รับการยกย่องว่ามีความสวยงามและความสมบูรณ์ทางธรรมชาติที่ติดอันดับโลกนอกจากจะเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ที่สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศมากถึง 1.21 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมาแล้ว ยังเป็นพื้นที่สำคัญในการสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจชายฝั่ง จากอุตสาหกรรมประมงทั้งชายฝั่งและประมงน้ำลึก, อุตสาหกรรมพัฒนาที่ดิน,อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ การทำงานของภาครัฐในการให้บริการประชาชน รวมถึง นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ผู้ให้บริการท่าเรือ และการเดินเรือต่างๆอาทิ เรือเฟอร์รี่ เรือยอร์ช เรือสปีดโบ๊ท รวมถึงผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร และบริการทัวร์ทุกรูปแบบ ดังนั้นที่ผ่านมาการบริหารจัดการคุณภาพเครือข่ายบริเวณชายฝั่งและกลางทะเล หรือ SEA COVERAGE จึงเป็นภารกิจหลักที่เราทุ่มเท เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจชายฝั่งดังกล่าวได้อย่างดีที่สุด”
นายวสิษฐ์ อธิบายต่อถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในพื้นที่ทางทะเลว่า “การทำงานเพื่อขยายโครงข่ายทางทะเล หรือ SEA COVERAGE มีความท้าทายในการทำงานอย่างมาก เพราะลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ตั้งแต่ชายฝั่ง เกาะ ไปจนถึงพื้นที่กลางทะเล รวมไปถึงแหล่งพลังงานทำให้ทีมวิศวกรต้องใช้ทักษะ และประสบการณ์ในการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงข่าย การผสมผสานระบบสื่อสัญญาณ (Transmission) พร้อมเลือกใช้นวัตกรรม โซลูชัน รูปแบบของพลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับภูมิประเทศและพฤติกรรมของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้โครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G มีความพร้อมมากกว่าระบบสื่อสาร แต่สามารถตอบโจทย์ทุกประสบการณ์ดิจิทัลของลูกค้าและผู้ประกอบการทุกกลุ่ม โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานตามพฤติกรรมและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Sector) ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานมากกว่า 95% ที่นอกเหนือจากกลุ่มนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร จะได้รับประโยชน์จากประสบการณ์ดิจิทัลบนโครงข่าย AIS 5G แล้ว หน่วยงานภาครัฐ อาทิ หน่วยงานอุทยานแห่งชาติ กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ ยังสามารถเชื่อมต่อการใช้งานระบบสื่อสาร และบริการดิจิทัล อาทิ IoT และการจัดเก็บฐานข้อมูล (Tourism Smart Data) เพื่ออำนวยความสะดวกให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการอย่างผู้ให้บริการเรือยอร์ช (Yacht Route) เรือเฟอร์รี่ (Ferry Line) ที่โครงข่ายสื่อสารของ AIS มีความครอบคลุม ใช้งานได้ต่อเนื่องทุกเส้นทางการเดินทาง พร้อมนำนวัตกรรมอย่าง Super Cell มาทดลองทดสอบให้บริการจริงแล้ววันนี้ โดยสามารถส่งสัญญาณเชื่อมโยงระหว่างจุดต่อจุดได้สูงสุดกว่า 70 กิโลเมตร
กลุ่มอุตสาหกรรมประมง (Fisheries Sector) และความปลอดภัย ในพื้นที่สองชายฝั่งทะเลของประเทศทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน โดยอุตสาหกรรมประมงมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคพื้นทะเลหรือ Ocean Economy เป็นอย่างมาก ทั้งกลุ่มประมงพื้นบ้านหรือประมงชายฝั่ง ที่ใช้เรือขนาดเล็กทำการประมงในระยะทางประมาณตั้งแต่ 3-12 ไมล์ทะเล และกลุ่มประมงเพื่อการพาณิชย์ หรือ ประมงน้ำลึก ที่ออกไปจับปลานอกเขตประมงชายฝั่ง แน่นอนว่ากลุ่มนี้ต้องการการติดต่อสื่อสาร ทั้งในด้านธุรกิจกับแพรับซื้อปลา การดูแลความปลอดภัย หรือการติดต่อครอบครัวบนฝั่ง และยังรวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐทั้งทหารและตำรวจที่ดูแลความมั่นคงทางทะเล ซึ่งเอไอเอส สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวได้ด้วยเช่นกัน
กลุ่มชุมชนตามแนวชายฝั่งและบนเกาะ (Local Community Sector) ที่พัฒนาเครือข่ายครอบคลุมจำนวนผู้ใช้บริการกว่า 98% แล้ว ทั้งมือถือ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ตอบสนองเรื่องการทำธุรกิจของผู้ประกอบการท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภคที่ใช้ดิจิทัลเข้ามายกระดับ
นายวสิษฐ์ กล่าวในช่วงท้ายว่า “เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณภาพของ AIS SEA COVERAGE จะพร้อมรับช่วงเวลาสำคัญปลายปีนี้ ที่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างชาติจะเดินทางพักผ่อน รวมไปถึงเป็นช่วงพีคของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งจะเสริมเศรษฐกิจภาคพื้นทะเล ให้เติบโตและแข็งแกร่งต่อไป”